รอบรู้การเกษตร
My pic
วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559
10 วิธีง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันให้มีความสุข (INN)
โดย นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง
อาจารย์อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Cultivating happiness takes deliberate attention' = "การเพาะปลูก (บ่มเพาะ สร้างเสริม) ความสุขด้วยการใส่ใจอย่างรอบคอบ (= การมองโลก)" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [Telegraph ]
(1). คิดถึงเรื่องดีๆ ก่อนนอน
ไม่ควรดูข่าวเครียด ๆ เช่น การเมืองเป็นสี ๆ ในไทย, ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ ก่อนนอน หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น... ไม่ควรดูข่าวหรือคุยเรื่องข่าวแบบนี้หลังเที่ยงวัน ควรคิดเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้เรามีความสุขหรือมีความทรงจำดี ๆ ในวันนี้ โดยเฉพาะการทำดีเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราทำแล้วสบายใจ เช่น วันนี้ทำส้มตำให้คุณแม่ นวดให้คุณพ่อ อาบน้ำให้น้องหมา ฯลฯ
เวลาคิดดี ๆ ให้ใส่ใจด้วยว่า เรายิ้มน้อย ๆ หรือไม่... ถ้ายังไม่ยิ้มให้ยิ้มน้อย ๆ ด้วย, สังเกตด้วยว่า ใจเรารู้สึกดีเวลาคิดเรื่องดี ๆ... ความตึงเครียดบริเวณคอ-ไหล่จะลดลง ปล่อยให้ความรู้สึกดี ๆ นี้แสดงออกทางกาย
(2). หัดมีความสุขกับเรื่องเล็กๆ
หัดเป็นคนมี "สุขเล็ก ๆ" เช่น ทำกับข้าวกับเพื่อน ๆ กินอาหารสุขภาพ ฯลฯ แทนการพึ่งพิง "สุขใหญ่ ๆ" เช่น ต้องบินไปรอบโลก 2 รอบจึงจะมีความสุข น้อยกว่านี้สุขไม่ได้ ฯลฯ ดู TV ให้น้อยลง... ออกไปหาธรรมชาติ เช่น เดินเล่นกับน้องหมา ปลูกต้นไม้ ซึ่งจะเป็นไม้กระถาง หรืออะไรก็ได้ เช่น หัดเพาะถั่วงอกไว้กินเอง ฯลฯ โลก IT มีคำกล่าวหนึ่ง คือ 'second best' หรือ "ของดีอันดับสอง (รองจากดีที่สุด)" มักจะมีความคุ้มทุน หรือคุ้มค่าสูงกว่าของดีอันดับหนึ่งเสมอ เช่น คอมพิวเตอร์รุ่นดีรองลงไป (อันดับ 2) มักจะใช้การได้ดีเกือบเท่าอันดับ 1 แต่ราคาถูกกว่ามาก ฯลฯ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน... แม้จะไม่ได้อะไรที่ดีที่สุด "ดังใจ" ก็ขอให้มีความสุขเล็ก ๆ กับอะไรที่ดีรองลงไปให้ได้ ถ้าไม่มีสตางค์ไปเที่ยวรอบโลกคราวละ 2 รอบก็ขอให้มีความสุขกับการวิ่งกับน้องหมารอบหมู่บ้านให้ได้ 2 รอบให้ได้
(3). ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง
ทำตัวให้มีชีวิตชีวา และหัดใช้ชีวิตแบบเรียบ-ง่าย-ประหยัด เช่น ถ้าจะดื่มชา... ควรหัดไม่พึ่งพิงว่า จะต้องชาจากที่แสนไกลหรือแสนแพงจึงจะมีความสุข มีความสุขให้ได้กับชาถ้วยนี้ หัดดื่มชาธรรมดาๆ ถ้วยนี้ให้มีความสุขแบบ "ราจ้า-รานี่ (ภาษาฮินดี อินเดีย = ราชา ราชินี - แขกมักจะเรียกลูกค้าแบบนี้ตอนขอทิป เพื่อทำให้ลูกค้าเคลิบเคลิ้ม ลืมตัว)
คนที่มีความสุข "เล็ก ๆ" บ่อย ๆ มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าคนที่มีความสุข "ใหญ่ ๆ" นาน ๆ ครั้ง โดยเฉพาะคนที่มีความสุขง่ายๆ เช่น อาบน้ำธรรมดาๆ กับสบู่ก้อนละไม่ถึงสิบบาทก็มีความสุขได้ ฯลฯ
ปี 2551 ผู้เขียนมีประสบการณ์ไปทำบุญในพม่าหลายครั้ง คนพม่ามักจะบอกว่า คนไทยคงจะมีความสุขมากเพราะมีงานทำและมีข้าวกิน... ทำให้คิดได้ว่า ถ้าเรามีความสุขง่ายๆ ได้แบบนี้คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว
(4). กล้าแสดงออกให้มากขึ้น
คนที่กล้าแสดงออก (extroverts) มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่กล้าแสดงออก แม้แต่คนที่ไม่กล้าแสดงออก (introverts) ถ้าฝึกบ่อย ๆ ก็มีความสุขได้ เช่น ฝึกร้องเพลงคาราโอเกะคนเดียวก่อน แล้ววันหลังชวนเพื่อนมาลุยกันที่บ้าน ฯลฯ
ถ้าไม่ชอบร้องเพลง... ควรหาโอกาสสวดมนต์โดยเลือกทั้งบาลีและไทย เพื่อให้สมองได้ฝึกระบบภาษาหลายๆ ภาษาไปพร้อม ๆ กัน ยิ่งถ้าสวดเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย... ยิ่งดี
(5). เสริมแรงจูงใจ
อย่ารอให้ใครมาจูงใจเรา... เราต้องเริ่มจูงใจตัวเองให้มี "แรงจูงใจ" อะไรดี ๆเช่น กล้าที่จะเข้าชั้นเรียนอะไรใหม่ๆ ซึ่งเมืองไทยมีให้เลือกมากมาย เช่น เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จากมหาวิทยาลัยเปิด (มสธ., มร.), วิทยาลัยสารพัดช่าง ฯลฯ
ไม่จำเป็นต้องเรียนเอาวุฒิ หรือปริญญามาเก็บไว้เป็นปี๊บ ๆ... เรียนรู้อะไรก็ได้ที่ชอบ เช่น อาหารไทย คอมพิวเตอร์ โยคะ ไทเกก-ไทชิ มวยจีน ฯลฯ
(6). มองความทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา
ไม่ว่าเราจะมีสุขหรือทุกข์... เราก็ไม่ได้สุขหรือทุกข์คนเดียว, คนอื่นก็สุข ๆ ทุกข์ ๆ ขึ้นบ้างลงบ้างแบบนี้ คนที่มีสุขทั้งวันมีเหมือนกัน เช่น คนบ้าบางคนที่สร้างโลกได้ด้วยการฝันกลางวัน ฯลฯ
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ไม่จำเป็นอย่าหมกมุ่นอยู่กับความทุกข์ของตัวเอง เพราะจะทำให้เกิดวงจรแบบ "พายเรือในอ่าง" ทำให้ความทุกข์ท่วมท้น ทางที่ดีกว่า คือ ลุกขึ้นจากเรือ และออกมาจากอ่าง หันไปดูภายนอก
ชีวิตจริงมีคนที่ทุกข์กว่าเรามากมาย เช่น คนในอาฟริกาที่อดตาย ชนกลุ่มน้อยในบางประเทศ ฯลฯ, ถ้าเรามีอาการ "เศร้า-เหงา-เซง" ก็อย่าเพิ่งตกใจ
เพราะคนบนโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ 10 คนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า มากบ้างน้อยบ้าง 1คน, พวกที่ประสาทดีบ้างร้ายบ้างมากกว่านี้, และพวกที่บ้าอำนาจ-รักษาไม่หายมีมากเหลือเกิน... เราไม่ได้ทุกข์อยู่คนเดียว คนอื่นก็ทุกข์เหมือนกัน
(7). ทำงานเฉพาะของเราให้ดี
ทำงานส่วนของเราให้ดี มีความสุขพอสมควร และอย่าไปคาดหวังกับคนอื่นให้มาก... ผู้เขียนสังเกตจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้า-เหงา-เซง ส่วนใหญ่จะพูดอะไรคล้ายๆ กัน คือ ปวดไปทั้วตัว โดยเฉพาะ "ปวด 3 อย่าง" ได้แก่ ปวดหัว-ปวดท้องน้อย-นอนไม่หลับ (ปวดใจ), ถามว่า ทำไมปวด ท่านบอกว่า เพราะคนอื่นไม่ดี
ถ้าเราไม่อยากเป็นแบบนั้นก็ไม่ควรไปคาดหวังกับคนอื่นให้มาก คาดหวังกับตัวเราคนเดียวก็เหนื่อยพอแล้ว
ทีนี้ถ้างานไม่มีความสุขเลยก็ไม่ต้องตกใจ... ให้ลองคิดถึงคนที่ตกงานบ่อยๆ เพราะคนที่ตกงานมีความทุกข์มากกว่าคนที่มีงานทำแยะเลย
(8). เชื่อเรื่องกรรม (ข้อนี้จะยกตัวอย่างมาทั้งย่อหน้าเลย เพราะชาวตะวันตกพูดบ่อยเหลือเกิน)
'Assume that karma is real: what you give, you get back. If you treat people well, you'll be treated well. If you spread happiness, you'll reap happiness. If you are generous, you'll be rewarded with generosity. Practice loving, compassion, and extraversion.' [ Telegraph ]
แปลว่า "คิดว่า กรรมมีจริง (karma = กรมะ = กรรม): คุณให้อะไร, คุณจะได้สิ่งนั้นกลับมา. ถ้าคุณปฏิบัติต่อคนอื่นดี, คุณจะได้รับการปฏิบัติที่ดี (ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่เร็วก็ช้า). ถ้าคุณแบ่งปันความสุข, คุณจะได้ความสุขอันงอกงามไพบูลย์. ถ้าคุณใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา, คุณจะได้รับคุณความดีเหล่านี้เป็นรางวัล. ขอให้ฝึกรักผู้อื่นแบบเมตตา (ไม่ใช่ผูกพัน), เอาใจเขามาใส่ใจเรา, และเผื่อแผ่เมตตานี้ออกไปภายนอก."
(9). ทำ '5ส' กับชีวิตเสมอ
ทำ '5ส' กับชีวิตของเรา เริ่มจากการ "สะสาง" ของที่ไม่ใช้ออกไปจากบ้าน,สะสางคนใจร้ายหรือมองโลกในแง่ร้ายออกไปจากชีวิต, ติดต่อกับคนที่มีจิตใจดีหรือมองโลกในแง่ดีมากขึ้น
(10). อย่าลืมว่า คนเราไม่ได้เกิดมามีความสุขล้วน
คนไม่ได้เกิดมามีสุขอย่างเดียว ทว่า... เกิดมามีสุขทุกข์คลุกเคล้า ผสมผสานกันไป... ต่างกันแต่มุมมอง ความอดทน และการพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส
การฝึกมองโลกในแง่ดี เริ่มจากการหัดแสดงคามกล้าหาญด้วยการกล่าวคำ "ขอโทษ ขอบคุณ ขอบใจ" บ่อยๆ, กล่าวชมคนรอบข้างจากใจจริงให้ได้อย่างน้อยวันละครั้ง และต่อไปเพิ่มเป็น 3 ครั้งหลังอาหาร มีส่วนช่วยให้คนเรามองโลกในแง่ดีมากขึ้น
หัดคบคนที่มองโลกในแง่ดี... แล้วจะพบว่า ความดีและความสุขนั้น ติดต่อกันได้, และอย่าปล่อยให้คนใจร้าย หรือคนมองโลกในแง่ร้ายเข้ามาครอบงำชีวิต หรือความคิดของเรา (อีกต่อไป)
ผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียว
ประเภทความเรียงเยาวชน
บทคัดย่อ
วิถีพอเพียง แบ่งปัน ผูกพัน ดิน น้ำ ป่า
โดย ด.ช.รีบูวัน ยูโซะ
มนุษย์เริ่มต้นอย่างอ่อนน้อมในการเป็นผู้อาศัยบนพื้นดิน ความฉลาดทำให้มนุษย์เข้ายึดครองธรรมชาติจากมนุษย์ถ้ำ ที่ใช้สมองและมือช่วยในการดำรงชีวิต สู่ยุควิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ต้องอาศัยพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมายและฟุ่มเฟือย ผลจากการบริโภค ดิน น้ำ ป่า ทะเล อย่างไม่คิดถึงอนาคต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของโลกอย่างหนัก ระบบหลักที่เป็นส่วนสำคัญของโลกเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดภาวะโลกร้อน
โลกมีองค์ประกอบหลัก คือ บรรยากาศ พื้นน้ำ พื้นดิน สิ่งมีชีวิตทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ต้องสมดุล ถ้าองค์ประกอบใดเสียจะทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ เช่น เมื่อป่าถูกตัดโค่นทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าหลายชนิดสูญพันธ์ บางชนิดแพร่พันธุ์ออกทำลายพืชผล ฝนตกไม่มีต้นไม้ดูดซับน้ำ ยังผลให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงทั่วโลก น้ำท่วมพื้นที่เกตษรกรรมเสียหาย อาหารขาดแคลนระบาดไปทั่วโลก ปัญหาที่เราเผชิญจะต้องแก้ไขได้ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยคนมีน้ำใจ คนที่มีน้ำใจเพราะมีเมตตาในหัวใจ ซึ่งเป็นคุณธรรมที่โดดเด่นของคนไทย
วิถีพอเพียงในชีวิตตามคำสั่งของในหลวงเหมือนแสงสว่างส่องโลกที่มืดมน เพียงแต่ใครจะมีปัญญารับรู้ได้และนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน ในหลวงทรงสอนให้เราอยู่อย่างเชื่อมั่นในธรรมชาติ พวกเราจะได้มีกินไม่อด ระดับการบริโภคต้องเอื้ออาทรต่อชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ร่วมโลกกับเราให้ต้นไม้ สัตว์ ฯลฯ สามารถมีชีวิตอยู่บนโลกได้เช่นเดียวกับมนุษย์ หัวใจแบบไทยที่เรามักจะเห็นน้ำใจกันในยามยากนั้น ถ้าเราแบ่งปันน้ำใจเช่นนี้บ้างให้กับต้นไม้ ใบหญ้า ท้องฟ้า ทะเล ป่าเขา ดิน น้ำ สรรพสัตว์ ประเทศของเราก็คงจะรอดพ้นจากภัยพิบัติที่กำลังคืบคลานมา
ดิน น้ำ ป่า ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง คนไทยทุกคนมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่จะทำอย่างไรให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน เราทุกคนจึงต้องมีหน้าที่ในการช่วยกันปกป้องรักษา มิให้มีการบุกรุกทำลายป่า ปล่อยน้ำเสียลงคลอง ฯลฯ เราจะต้องเสียสละเวลาคนละไม่กี่ชั่วโมง มาทำประโยชน์ให้กับธรรมชาติบ้าง เช่น การปลูกต้นไม้ การเก็บขยะ ปลูกฝังนิสัยรักธรรมชาติให้กับเด็กๆ คนไทยทุกคนบอกว่ารักในหลวง ในหลวงสอนให้เรามีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง คือ กิน อยู่ อย่างพอประมาณ ไม่โลภ
เราได้ประโยชน์จาก ดิน น้ำ ป่า เราก็ควรตอบแทนบุญคุณ ดิน น้ำ ป่า ด้วยเพื่อให้สรรพสิ่งเหล่านี้อยู่คู่เราไปนานๆ ความจริงมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกใบนี้มานานแสนนานหลายล้านปี คงจะมีความรู้สึกรักโลกใบนี้เหมือนกัน ผมอาจจะโชคดีที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ จนทำให้รู้สึกว่า ผืนดิน น้ำ ป่า เหมือนญาติสนิทไม่อยากให้ใครทำลานยธรรมชาติ จนทำให้รู้สึกว่า ผืนดิน น้ำ ป่า เหมือนญาติสนิทไม่อยากให้ใครทำลายเวลาผมกอดพ่อแม่ผมรู้สึกอบอุ่น เวลาผมกอดต้นไม้ผมก็รู้สึกเช่นเดียวกัน
วิถีพอเพียง
ความงดงามของวิถีชีวิตแบบพอเพียง และการพึ่งตนเอง
วิถีชีวิตแบบพอเพียงที่หลายคนต่างก็เคยได้ยินได้ฟัง แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิต ความพอเพียงไม่ใช่แค่การปลูกผักทำนาทำเกษตรกรรมเลี้ยงตนเองเท่านั้น แต่ใจความสำคัญของวิถีชีวิตพอเพียงนั้นคือการประเมินตน มีเหตุผล ไม่ประมาท ดำรงตนอยู่ในความพอดี มีชีวิตที่สมดุลและพึ่งตนเอง
ผู้คนต่างเสียเวลาไปกับการดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยให้ตัวเองมีทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางวัตถุสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนในสังคมไทยไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยมีชีวิตเรียบง่าย ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่าวัตถุ ยึดถือในเรื่องคุณธรรมความดีงามมากกว่าเงินทองทรัพย์สมบัติ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตอกย้ำถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่อยู่ในกระแสเสรีนิยม ทุนนิยม หรือบริโภคนิยม ที่ชัดเจนในการแสวงหาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง ความร่ำรวยจากการลงทุน กระตุ้นการบริโภคและกิเลส หล่อเลี้ยงระบบทุนนิยม
ประเทศไทยเองก็พัฒนาตามแบบทุนนิยมเช่นกัน ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก เมื่อปี 2505 เศรษฐกิจเติบโตมาต่อเนื่อง จนกระทั่งมาจุดหนึ่งที่เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้วแตก
“ที่ผ่านมาประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศ ซึ่งมีฐานในภาคการเกษตร แต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.เงิน ซึ่งประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2.เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3.คน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา
จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไป เศรษฐกิจก็ล้มในที่สุด
สถานการณ์นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรก โดยให้มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะๆ
ดร.สุเมธย้ำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากคนจน พระองค์ท่านรับสั่งว่า ...ให้ร่ำรวย แต่ร่ำรวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่วถึง
พระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรต่างๆ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณหาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนาไปทางไหนไม่จำเป็นต้องตามกระแสของโลก
ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณคือตรวจสอบศักยภาพของตนเองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะพัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความเข้มแข็งก่อน
ประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยาก มีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้น
นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวางหลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
ผู้คนต่างเสียเวลาไปกับการดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยให้ตัวเองมีทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางวัตถุสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนในสังคมไทยไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยมีชีวิตเรียบง่าย ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่าวัตถุ ยึดถือในเรื่องคุณธรรมความดีงามมากกว่าเงินทองทรัพย์สมบัติ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตอกย้ำถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่อยู่ในกระแสเสรีนิยม ทุนนิยม หรือบริโภคนิยม ที่ชัดเจนในการแสวงหาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง ความร่ำรวยจากการลงทุน กระตุ้นการบริโภคและกิเลส หล่อเลี้ยงระบบทุนนิยม
ประเทศไทยเองก็พัฒนาตามแบบทุนนิยมเช่นกัน ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก เมื่อปี 2505 เศรษฐกิจเติบโตมาต่อเนื่อง จนกระทั่งมาจุดหนึ่งที่เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้วแตก
“ที่ผ่านมาประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศ ซึ่งมีฐานในภาคการเกษตร แต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.เงิน ซึ่งประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2.เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3.คน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา
จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไป เศรษฐกิจก็ล้มในที่สุด
สถานการณ์นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรก โดยให้มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะๆ
ดร.สุเมธย้ำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากคนจน พระองค์ท่านรับสั่งว่า ...ให้ร่ำรวย แต่ร่ำรวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่วถึง
พระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรต่างๆ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณหาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนาไปทางไหนไม่จำเป็นต้องตามกระแสของโลก
ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณคือตรวจสอบศักยภาพของตนเองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะพัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความเข้มแข็งก่อน
ประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยาก มีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้น
นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวางหลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)